369slot pg:"พิธา" รับสภาพอภิปรายทิ้งทวน ไม่เสียใจเป็นฝ่ายค้าน อัดรัฐบาลไร้วิสัยทัศน์

2024-04-19 04:20:05 383

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวสรุปการอภิปรายเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรีโดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 ว่า ตลอดระยะเวลา 7 เดือนที่ผ่านมาไม่เคยเสียใจที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารถึงแม้จะชนะเลือกตั้ง สามารถรวบรวมเสียงได้ 312 เสียง ไม่เคยเสียใจที่เข้ามาเป็นฝ่ายค้าน และไม่เคยเสียใจว่าการอภิปรายในครั้งนี้อาจจะเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิต ตนพร้อมที่จะเดินจากไปอย่างผู้ชนะ ไม่มีอะไรติดค้างใจต่อไป

"มั่นใจว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับพรรค ไม่ว่าจะเป็นการยุบพรรค การทำลายพรรคก้าวไกล จะไม่ทำให้การเดินทางสู่การเปลี่ยนแปลงประเทศไทยของเราหายไป ยิ่งยุบพรรคจะยิ่งทำให้พวกเราไปถึงเส้นชัยที่เราต้องการจะทำได้เร็วมากขึ้นด้วยซ้ำ" นายพิธา กล่าว

หลังจากฟังการชี้แจงของรัฐบาลในช่วง 2 วันที่ผ่านมาแล้วรู้สึกเสียดายโอกาสและเวลาของประเทศที่ต้องเสียไป เสียดายศรัทธาของประชาชน และเสียดายตัวเองที่เคยเป็นคนลงคะแนนให้กับพรรคไทยรักไทยมาตั้งแต่ปี 2543

"วันนี้รัฐบาลเต็มไปด้วยความสะเปะสะปะ ที่หาเสียงไว้ไม่ได้ทำ ที่ทำไม่ได้หาเสียงไว้ จนอดรู้สึกไม่ได้ว่ารัฐบาลนี้ไม่มีวาระเป็นของตัวเอง ไร้วิสัยทัศน์ และไร้ผลงาน" นายพิธา กล่าว

โดยขอแบ่งการอภิปรายออกเป็น 3 ช่วง คือ สรุปการอภิปรายทั้ง 2 วันที่ผ่านมา การสะสางข้อเท็จจริงที่นำมาใช้ในการตอบโต้ และข้อเสนอแนะที่มีต่อรัฐบาล

*กังวลวิสัยทัศน์ 8 ฮับของรัฐบาล คือความมืด 8 ด้านของประชาชน

ในส่วนของการสรุป ตนมีความกังวลว่า วิสัยทัศน์ 8 ฮับของรัฐบาลคือความมืด 8 ด้านของประชาชน ได้แก่ ส่วนที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง คือ 1.มืดเรื่องปากท้อง 2.มืดแก้ส่วย 3.มืดผูกขาด ส่วนที่ล่าช้าคือ 4.มืดกระตุ้นเศรษฐกิจ 5.มืดแก้ไขรัฐธรรมนูญ และส่วนที่ละเลยคือ 6.มืดปฏิรูปกองทัพ 7.มืดมนคุณภาพชีวิต และ 8.มืดกระบวนการยุติธรรม ซึ่งหลายเรื่องได้มีการตอบคำถาม ถกเถียง และรับปากจะไปดำเนินการบ้างแล้ว แต่สิ่งที่ตนรู้สึกว่ายังถกกันไม่ตกผลึกและยังไม่เห็นภาพชัดเจนคือเรื่องการปฏิรูปกองทัพ

การที่นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ฝ่ายค้านพูดแต่เรื่องเดิมๆ ตนก็เห็นว่านายกรัฐมนตรีพูดไม่เหมือนเดิม ก่อนเลือกตั้งพูดอย่างหนึ่ง หลังเลือกตั้งพูดอีกอย่าง

การอภิปรายเกี่ยวกับปฏิบัติการไอโอ หากรัฐบาลยังคงไม่รู้อยู่อีกว่า ใครเป็นคนทำไอโอในช่วงที่ผ่านมา ตนขอเสนอให้ไปอ่านงานวิจัยและข้อมูล 2-3 แหล่ง ทั้งของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สำนักข่าวรอยเตอร์ และมหาวิทยาลัยโตรอนโต ที่ยืนยันว่า การทำไอโอในประเทศไทยมีอยู่จริงและทำโดยกองทัพไทย

เรื่องที่สอง นายกรัฐมนตรีงงว่า พรรคก้าวไกลมีจุดยืนอย่างไรกันแน่กับเรื่องการจัดซื้ออาวุธ และยังกล่าวพาดพิงว่ามีคนจากพรรคก้าวไกลเคยบอกว่าจะเอาเรือประมงไปรบ จึงต้องขอนำข้อมูลมาทำความเข้าใจกับนายกรัฐมนตรีใหม่ว่า ตนได้ข้อมูลมาจากทหารเรือเอง รวมถึงจากทูตทหารหลายประเทศ เวลานี้ภัยความมั่นคงมันเปลี่ยนไปแล้ว เป็นสงครามผสม (hybrid warfare) ช่วงที่ผ่านมาสงครามมีการพัฒนาไปมาก รวมถึงมีการใช้เรือประมงปลอมให้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของอาวุธในการทำลาย ขู่เข็ญ และปฏิบัติการจิตวิทยา อีกทั้งยังมีข้อมูลว่ามีบางประเทศในทะเลจีนใต้นำเรือประมงมาผสมกับเรือรบกว่า 20,000 ลำ นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ตนไม่ได้คิดขึ้นมาเอง แต่เป็นสิ่งที่ตนได้ยินมาจากทหารเรือและทูตทหาร รวมทั้งหลักฐานต่างๆ ที่ปรากฏข้างต้น

สำหรับการจัดซื้ออาวุธนั้น ขอย้ำว่า พรรคก้าวไกลมีหลักคิดในการปฏิรูปกองทัพให้ทันสมัย มีสิทธิมนุษยชน มีความเป็นมืออาชีพ และต้องมีอาวุธที่เหมาะสม สามารถสร้างอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้เกิดขึ้นในประเทศเองได้ โดยไม่เบียดเบียนภาษีมากเกินไป ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องการให้ซื้ออาวุธอะไรเลย ซึ่ง นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ได้อภิปรายไปแล้วว่า เรือฟริเกตมีความจำเป็นอย่างไร เหมาะสมอย่างไร สร้างอุตสาหกรรมใหม่ให้เป็นเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจได้อย่างไร และเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างไร เมื่อเข้าเกณฑ์เช่นนี้ พรรคก้าวไกลจึงไม่คิดว่าจะต้องต่อต้านอะไร

*ห่วงรัฐบาลเกาไม่ถูกที่คัน อย่ามองเหรียญด้านเดียว

ประการต่อมาคือ เรื่องของการสะสางข้อเท็จจริงที่ใช้ในการอภิปรายครั้งนี้ทั้งหมด ซึ่งตนจับคำพูดนายกรัฐมนตรีได้คำหนึ่งว่า อยากจะเน้นเรื่องบวก ไม่อยากจะเน้นเรื่องปัญหา แต่ความเป็นจริงคือประเทศของเรามีทั้งจุดแข็ง จุดอ่อน ความท้าทาย และโอกาส

นายพิธา กล่าวว่า คนที่จะเป็นผู้นำได้ ถ้าเน้นแต่เรื่องที่เป็นบวกอย่างเดียวก็จะเกาไม่ถูกที่คัน เวลาที่นายกรัฐมนตรีเลือกเอาตัวเลขมาพูดในสภาฯ ตนจึงได้เห็นแต่ตัวเลขที่เป็นบวก ที่เป็นผลดีต่อรัฐบาล แต่ไม่มีบริบท ไม่ครบถ้วน และเป็นแค่เหรียญด้านเดียวที่ไม่สามารถทำให้เห็นภาพปัญหาของประชาชน โอกาส และความท้าทายของประเทศไทย ทำให้รัฐบาลไม่สามารถมียุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาไปข้างหน้าได้ เน้นยกมาแต่ตัวเลขในเรื่องของปริมาณมากกว่าการเพิ่มมูลค่า เน้นเรื่องราคามากกว่าคุณภาพชีวิตประชาชน เน้นที่จะพึ่งปัจจัยจากต่างประเทศโดยไม่เน้นว่าจะต้องนำพลังมาจากภายในออกมา

*เตือนอย่าให้ความสำคัญตปท. มากกว่าศก.ในประเทศ

ในเรื่องของภาคการผลิตที่นายกรัฐมนตรีใช้คำว่า "สึนามิแห่งการลงทุน" ซึ่งตนมีความกังวลว่ามันจะกลายเป็นสึนามิขึ้นมาจริงๆ เพราะแม้ในไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้วจะมีการลงทุนเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า ก็เป็นเรื่องจริงและเป็นเรื่องดี แต่ประเด็นที่ยังเป็นข้อเท็จจริงอีกประการคือการที่ประเทศไทยตอนนี้ยังอยู่ที่อันดับ 6 ในอาเซียน นำอยู่แค่กัมพูชา ลาว และเมียนมา แม้เศรษฐกิจไทยจะเติบโต แต่เมื่อเทียบกับประเทศอย่างฟิลิปปินส์มีการเติบโตถึง 7 เท่า ทุกประเทศเติบโตหมดและเติบโตมากด้วย ก็ขอเป็นกำลังใจให้นายกรัฐมนตรีในการวางแผนและมีโรดแมพว่า จะทำอย่างไรให้เกิดการลงทุนที่เป็นประโยชน์กับภาคการผลิตของประเทศไทย ตามต่างประเทศให้ทัน ไม่ใช่นำแค่ประเทศเพื่อนบ้าน และไปกระทบกับเรื่องของเศรษฐกิจ รวมถึงเรื่องของการขาดดุลทั้งบัญชีการค้าและการทำงบประมาณด้วย

สำหรับภาคบริการ ถึงแม้นายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปเป็นเซลส์แมนดึงเม็ดเงินจากต่างประเทศมามาก แต่กลับไม่ค่อยมีการผลักดันสิ่งที่อยู่ภายในประเทศเพื่อรองรับการเข้ามาของเม็ดเงินเหล่านี้ มันจะมีประโยชน์อะไรถ้าการท่องเที่ยวของประเทศไทยกลับมาเติบโต แต่กว่า 80% ของการท่องเที่ยวยังคงเน้นอยู่แค่ 5 จังหวัด ไม่มีการสร้างสาธารณูปโภคที่ทำให้คนอยากจะไปให้มากกว่าแค่ 5 จังหวัด แล้วมันจะมีประโยชน์อะไรถ้าการท่องเที่ยวมาใน 5 จังหวัด แต่คนที่อยู่ในจังหวัดเหล่านั้นต้องอยู่ท่ามกลางปัญหาขยะ มลพิษ มาเฟีย ยาเสพติด ส่วย และค่าครองชีพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ

นายพิธา กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับนโยบาย IGNITE Tourism Thailand แต่การปล่อยให้ 20% ของจีดีพีไปพึ่งปัจจัยของนักท่องเที่ยวเพียงไม่กี่กลุ่ม แล้วลืมว่า ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีของคนไทย ไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีของนักท่องเที่ยว ก็จะยิ่งก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในภาคบริการมากขึ้น

"ท่านอย่ามองแต่เรื่องที่ต้องการจะให้เป็นบวก ท่านต้องมองให้ครบรอบด้าน ท่านอย่าไปมองแค่ราคา ไปดูคุณภาพชีวิตประชาชนด้วย อย่าไปมองแค่ปริมาณ แต่ต้องมองเรื่องเกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่า ถ้าท่านมองแบบนี้ได้ผมก็คิดว่าปัญหามันจะทุเลาลง" นายพิธา กล่าว

เรื่องสิ่งแวดล้อม แม้นายกรัฐมนตรีจะยอมรับว่ามีปัญหาฝุ่น PM2.5 อยู่จริง แต่จุดความร้อนลดลงจากปีที่แล้ว นี่ถือเป็นข้อมูลที่เป็นบวกแต่ไม่รอบด้านอีกเช่นกัน เพราะในรอบสิบกว่าปีที่ผ่านมา จุดความร้อนในภาคเหนือเพิ่มขึ้นช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน และในปีนี้ก็เช่นกันที่จุดความร้อนต่อวันในภาคเหนือเพิ่มขึ้นในเดือนมีนาคม 2567 จึงไม่แน่ใจว่านายกรัฐมนตรีไปดูข้อมูลเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์มาหรือไม่ แล้วรู้สึกว่าปัญหาได้รับการแก้ไขแล้ว ถ้าดูให้ถูกจุดแล้วยอมรับข้อเท็จจริงนี้ จะเห็นได้ว่าจุดความร้อนต่อวันไม่ได้ลดลง

นอกจากนี้สิ่งสำคัญและเป็นตัวเลขที่นายกรัฐมนตรียิ่งควรจะต้องดูคือตัวเลขของคนที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 ที่เป็นผู้ป่วยนั้นมากน้อยแค่ไหน ซึ่งตัวเลขในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ที่ผ่านมามีจำนวนถึง 2 ล้านกรณีแล้ว

เรื่องการต่างประเทศนั้น การแก้ไขปัญหาภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแก๊งคอลเซ็นเตอร์ การเผาข้าวโพด หรือแรงงานข้ามชาติ ฯลฯ จะทำไม่ได้เลยถ้าการต่างประเทศของไทยยังไม่รอบด้านเช่นนี้ โดยเฉพาะกรณีวิกฤตที่เกิดขึ้นในประเทศเมียนมา นายกรัฐมนตรีควรที่จะมีความเห็นที่รอบด้านและสามารถมีความสัมพันธ์กับทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง เพื่อที่จะได้รับฟังข้อมูลอย่างครบถ้วน รอบด้าน และสามารถแก้ไขปัญหาได้ ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมี Inter Agency ภายในรัฐบาลที่ดูเรื่องเกี่ยวกับกรณีเมียนมาโดยเฉพาะ ซึ่งจะมาดูแลทั้งการมีความสัมพันธ์กับทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง การทำระเบียงมนุษยธรรมที่ไม่ได้ทำให้นิยามของคำว่ามนุษยธรรมหายไป และไม่เป็นการส่งความช่วยเหลือไปให้กับแค่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทั้งหมดนี้ไม่ใช่นโยบายต่างประเทศเพื่อต่างประเทศ แต่เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศของเราเอง ทั้งแรงงานข้ามชาติ ไฟป่า การเผาในพื้นที่ชายแดน แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ฯลฯ

*ถึงเวลาปรับครม. หาคนเชี่ยวชาญมาทำงานจริง

นายพิธา มีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล 3 ประการ คือ

1.ถ้าอยากจะกอบกู้ภาวะผู้นำของรัฐบาล ตนคิดว่าถึงเวลาที่จะต้องมีการปรับ ครม.ได้แล้ว วางคนที่เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่องเข้ามาทำงานจริง ที่ผ่านมา 7 เดือนก็พอจะทำให้เห็นภาพได้แล้วว่าใครที่มีประสิทธิภาพ และใครที่ไม่มีประสิทธิภาพ

2.ถึงเวลาแล้วที่นายกรัฐมนตรีจะต้องมีโรดแมพ วิสัยทัศน์ที่นายกรัฐมนตรีแถลงมา 8 ฮับ หลายเรื่องพูดมา 20 กว่าปีแล้วก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เพราะพูดแค่ว่าจะทำอะไร แต่ไม่ได้บอกว่าจะทำอย่างไรและเมื่อไร ดังนั้นต้องมีโรดแมพว่าในช่วงไตรมาสนี้จะทำอะไร ปีนี้จะทำอะไร สมัยนี้จะทำอะไร ซึ่งจะทำให้การขับเคลื่อนเกิดผลลัพธ์ได้จริง

3.สิ่งที่สำคัญของคนที่เป็นผู้นำในศตวรรษที่ 21 คือการฟัง ซึ่งขอแนะนำนายกรัฐมนตรีว่า ต้องฟังเพื่อที่จะตอบสนอง ไม่ใช่ฟังเพื่อที่จะตอบโต้ตลอดเวลา เพราะบางครั้งเสียงที่ไม่อยากได้ยินก็คือ เสียงที่ประเสริฐที่สุด ตามที่เคยได้กล่าวไว้


ที่อยู่บทความนี้:http://anintentionalbusiness.com/2021/03/energy-in-motion/
ประกาศด้านลิขสิทธิ์

บทความนี้เป็นเพียงมุมมองของผู้เขียนเท่านั้น และไม่ได้แสดงถึงจุดยืนของไซต์นี้
บทความนี้เผยแพร่โดยได้รับอนุญาตจากผู้เขียน และห้ามทำซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาต

บทความยอดนิยม

แท็กยอดนิยม

เป็นที่นิยมทั่วทั้งไซต์

Hisense, Toshiba, Gorenje, Asko จับมือร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวโชว์รูม

เสียวหมี่ให้ลูกค้าลุ้นรับบัตรคอนเสิร์ต 2023

World Economic Calendar รายสัปดาห์ ประจำวันที่ 11 เมษายน

นีเวีย ชวนสร้างพลังใจแบ่งความห่วงใยผ่านโครงการ นีเวีย ชวนแชร์

หน้าร้อน ระวัง!... อาหารเป็นพิษ อาการแบบไหน?

HILITE: CPF บวก 2.84% หลังให้ข้อมูลโบรกลุ้น Q2/67 พลิกกำไรราคาหมู

OPPO จับมือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สร้างแรงบันดาลใจการถ่ายภาพพอร์ตเทรต

เอาให้ชัด! นายกฯ เล็งส่งกฤษฎีกาเช็คข้อกฎหมายกรณีกู้

บทความยอดนิยม

ลิงค์